วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โรงเรียนสัตว์

การจัดการเรียนรู้ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจะมีลักษณะคล้ายกับนิทานเรื่องสั้นเรื่อง  "โรงเรียนสัตว์ ธ้ำ ฤรทฟส ฆแนนส"  ซึ่งเนื้เรื่องมีอยู่ว่า
          ในกาลครั้งหนึ่ง   เหล่าฝูงสัตว์มีการตัดสินใจว่าจะต้อทำอะไรบางอย่างให้ดูเก่งกาจเพื่อเผชิญกับปัญหา "โลกยุคใหม่"จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับเหล่าสัตว์ขึ้น และได้ตัดสินใจรับเอาหลักสูตรที่ประกอบด้วยวิชา การวิ่ง การปีน การว่ายน้ำ และการบิน
          เพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำหลักสูตร  สัตว์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่าต้องให้สัตว์ทุกตัวเรียนทุกวิชาเหมือนกัน
          เป็ดได้คะแนนยอดเยี่ยมในการว่ายน้ำ  และสามารถทำได้เก่งกว่าผู้สอนมาก  แต่ในวิชาการบินเป็ดสอบได้พอผ่านและได้คะแนนแย่มากในการวิ่ง  และเนื่องจากเป็ดวิ่งได้ช้ามาก  เป็ดเลยต้องอยู่ฝึกหัดการวิ่งหลังเลิกเรียนและต้องหยุดพักการเรียนว่ายน้ำ  เป็ดทำเช่นนี้จนแผ่นหนังที่นิ้วเท้าฉีกขาดและได้คะแนนการว่ายน้ำในระดับคะแนนเฉลี่ยเท่านั้น  แต่การได้คะแนนระดับเฉลี่ยนั้นเป็นที่ยอมรับในโรงเรียน  เลยไม่มีใครกังวลในเรื่องนี้  จะมีก็เพียงเจ้าเป็ด
          ส่วนเจ้ากระต่ายเริ่มต้นด้วยการเป็นนักเรียนในชั้นเรียนที่ได้คะแนนสูงสุดในการวิ่ง  แต่เจียนจะเป็นโรคประสาทเพราะต้องซ่อมวิชาการว่ายน้ำซ้ำแล้วซ้ำเล่า
          กระรอกเป็นนักเรียนยอดเยี่ยมในการปีนป่ายจนกระทั่งมาพบกับความล้มเหลวในการบินในชั้นเรียนซึ่งครูของกระรอกให้กระรอกเริ่มบินจากพื้นดินแทนการบินจากต้นไม้ลงพื้นดิน  กระรอกเกิดอาการกล้ามเนื้อระบมจากการพยายามจนสุดกำลังและได้คะแนนระดับ   C  ในวิชาการปีน  และได้ดีในวิชาการวิ่ง
          นกอินทรีถูกมองว่าเป็นเด็กมีปัญหาจึงถูกลงโทษทางวินัย  ในวิชาการปีนนกอินทรีทำได้ชนะตัวอื่นทุกตัวด้วยการดื้อดึงที่จะใช้วิธีการที่ตนเองถนัดในการไปถึงยังยอดไม้
          เมื่อสิ้นปีการศึกษา  ปลาไหลพิการที่สามารถว่ายน้ำได้อย่างยอดเยี่ยม  และวิ่ง  ปีน  บินได้เล็กน้อยได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดและได้เป็นผู้แทนนักเรียนในการกล่าวสุนทรพจน์วันปิดภาคเรียน
          เจ้าตัวตุ่นเข้าโรงเรียนไม่ได้  และต่อสู้กับการจัดเก็บภาษีเพราะฝ่ายบริหารไม่ยอมเพิ่มวิชาการขุดและการมุดรูไว้ในหลักสูตรเพื่อทำการฝึกลูกหลาน
          เรื่องโรงเรียนสัตว์ข้างต้น  ช่วยทำให้มองเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ตอบสนองต่อความรู้ความสามารถที่แตกต่างกัน  และไม่ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้เรื่องเดียวกันที่มีแตกต่างกันไป  ย่อมทำให้ไม่ส่งเสริมความสามารถหรือปัญญาที่แต่ละบุคคลมี
บุปผาชาติ  ทัฬหิกรณ์.  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนการสอน : สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2552หน้า 16-17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น